INGRS ขาดทุนโค้งแรกเฉียด 50 ลบ. ยอดขายฟื้น ต้นทุนพุ่ง

HoonSmart.com>> “อิงเกรส อินดัสเตรียล” ขาดทุนไตรมาส 1/65 สิ้นสุด 30 เม.ย. เกือบ 50 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากงวดปีก่อน เหตุรายได้ในไทยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ปริมาณขายลดลง งานธุรกิจผลิตแม่พิมพ์ในบริษัทย่อยเลื่อนออกไป ด้านโครงการใหม่ในอินโดนีเซียเพิ่งเริ่มดำเนินงานเดือนม.ค.65 ฟากต้นทุน ค่าใช้จ่ายเพิ่ม แม้ยอดขายฟื้นตัวทุกประเทศ หนุนรายได้รวมเติบโต 19% แตะ 957 ล้านบาท

บริษัท อิงเกรส อินดัสเตรียล (ไทยแลนด์) หรือ INGRS เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1 สิ้นสุดวันที่ 30 เม.ย.2565 ขาดทุนสุทธิ 49.54 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 0.0342 บาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 0.85 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 0.0006 บาท

บริษัทมีรายได้จากการขายสำหรับไตรมาส 1 ปี 2565/66 จำนวน 957.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 154.3 ล้านบาท หรือ 19.2% เมื่อเทียบกับรายได้จากการขายจำนวน 957.5 ล้านบาท ในชาวงเดียวกันของปีก่อน รายได้จากการขายโดยรวมฟื้นตัวขึ้นเป็นผลมาจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นในทุกประเทศ นอกจากนี้ผลการดำเนินงานในประเทศอินโดนีเซียเติบโตอย่างมีสาระสำคัญเนื่องจากบริษัทย่อย PT Ingress Industrial Indonesia (PTIII) ที่เริ่มดำเนินงานเมื่อเดือนม.ค.2565 แต่อย่างไรก็ตามรายได้ของประเทศไทยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากปริมาณการขายที่ลดลงและงานบางส่วนจากธุรกิจผลิตแม่พิมพ์ในบริษัทย่อย Fine Components (Thailand) Co., Ltd ได้เลื่อนออกไปก่อน

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่ารายได้จากธุรกิจผลิตแม่พิมพ์จะลดลง แต่รายได้โดยรวมของบริษัทมีการเติบโตที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับการผลิตในอุตสาหกรรมโดยรวม (TIP) ในทุกประเทศ และการผลิตในอุตสาหกรรมโดยรวม

ขณะที่ขาดทุนเพิ่มขึ้น เป็นผลจากบริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 3.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 15.4% เนื่องจากโครงการใหม่ในประเทศอินโดนีเซียเพิ่งเริ่มดำเนินงานในเดือนม.ค.2565 และยังไม่ถึงจุดคุ้มทุนทางรายได้นอกจากนี้บริษัทย่อยได้ประสบกับภาวะต้นทุนทางตรงที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศอินเดีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำไรขั้นต้น

ด้านค่าใช้จ่ายในการขายและจำหน่าย และค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้น 48.7 ล้านบาท หรือ 38.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานเพิ่มขึ้น 26.4% โดยมีเหตุผลหลักมาจากบริษัทย่อยแห่งใหม่ คือ PTIII และมีการจัดประเภทต้นทุนการดำเนินงานคงที่เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารเนื่องจากบริษัทไม่สามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิตปกติ ต้นทุนการดำเนินงานคงที่ดังกล่าวมีจำนวน 15.2 ล้านบาท โดยเป็นค่าเสื่อมราคาจ านวน 11.2 ล้านบาท หรือคิดเป็น 73.5% ของต้นทุนการดำเนินงานคงที่ทั้งหมด

ค่าใช้จ่ายทางการเงินเพิ่มขึ้น 40.6% หรือคิดเป็นเงิน 8.4 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากเงินกู้ยืมระยะยาวที่บริษัทได้รับมา เพื่อใช้สำหรับการจัดหาสินทรัพย์สำหรับ PTIII