“เพซ ดีเวลลอปเมนท์” กางแนวทางพ้น C เร่งสร้างผลงานทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และอาหารเครื่องดื่มกูร์เม่ต์ ดีน แอนด์ เดลูก้า รวมทั้งปรับโครสร้างทางการเงิน เชื่อช่วยลดขาดทุนสะสม เพิ่มส่วนผู้ถือหุ้นได้
บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น (PACE) แจ้งว่า เมื่อวันที่ 31 ส.ค.2561 บริษัทได้จัดประชุมเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง เนื่องมาจากหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ถูกขึ้นเครื่องหมาย C จากการที่ฐานะการเงินในงบการเงินไตรมาส 2/2561 ส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่า 50% ของทุนชำระแล้ว โดยแนวทางการแก้ไขปัญหาส่วนหนึ่งมาจากการดำเนินงานของบริษัทฯ จะช่วยลดการขาดทุนสะสม เพิ่มส่วนผู้ถือหุ้น ซึ่งมาจาก 2 ส่วนธุรกิจหลัก ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์และธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มกูร์เม่ต์ ดีน แอนด์ เดลูก้า และอีกส่วนหนึ่งมาจากการปรับโครงสร้างทางการเงิน ซึ่งบริษัทฯ จะดำเนินการพิจารณาและศึกษาผลกระทบต่อไป
สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มี 3 แนวทางในการดำเนินธุรกิจ โดยในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายที่อยู่ระหว่างการขายและการก่อสร้างนั้น จะโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ขายแล้วรอการโอนและห้องชุดรอการขายของโครงการเดอะ ริทซ์-คาร์ลตัส เรสิซเดนเซส บางกอก ให้เสร็จ เพื่อรับรู้รายได้ภายในสิ้นปี 2561 และดำเนินการก่อสร้างโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนและดำเนินกิจกรรมการขายให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อรับรู้รายได้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดในปีต่อๆ มา
แนวทางที่ 2 ปรับปรุงรูปแบบและเพิ่มองค์ประกอบการแก่โครงการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างรายได้ แก่โครงการมหาสมุทรคันทรี่คลับ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างและดำเนินการ และ 3 เดินหน้ามองหาโอกาสทางธุรกิจ เพื้อจะพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์โครงการใหม่ โดยบริษัทฯ จะพิจารณารุปแบบการลงทุน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานะทางการเงินของบริษัทฯ
สำหรับธุรกิจอาหารและเครื่อดื่มกูร์เม่ต์ ดีน แอนด์ เดลูก้านั้นมี 3 แนวทาง โดยแนวทาง 1. ปรับโครงสร้างการดําเนินธุรกิจโดยการแบง่แยกตามภูมิภาค เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องต่อภูมิภาคนั้นๆ มากขึ้น 2. ขยายร้านและเพิ่มมูลค่าแบรนด์ทั้งในและต่างประเทศในรูปแบบแฟรนไชส์เป็นหลัก และ 3. พัฒนาสินค้าอื่นๆ ภายใต้แบรนด์ดีน แอนด์เดลกู้า และ/หรือ ร่วมมือกับผู้ที่มีชื่อเสียง เพื่อวางขายทั้งในร้านดีนแอนด์เดลกู้าและช่องทางจัดจำหน่ายอื่นๆ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของแบรนด์ให้มากขึ้น
นอกจากนี้การปรับโครงสร้างทางการเงินจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนได้ด้วยความรวดเร็ว ตลอดจนส่งผลให้สัดส่วนทางการเงินต่างๆ (ส่วนของผู้ถือหุ้นต่อทุนจดทะเบียนชำระแล้ว) เปลี่ยนแปลงไป บริษัทฯ จะดำเนินการศึกษาอย่างรอบคอบถึงวิธีการตลอดจนผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น