SCBAM : “ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐฯ ลดต่ำสุดตั้งแต่เกิด COVID-19”

SCBAM : “จำนวนผู้ว่างงานขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐฯ ลดลงต่ำสุดตั้งแต่เกิด COVID-19”

• ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากรับรู้ข่าวร้ายเรื่องอัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย. ของสหรัฐฯ ที่ออกมาสูงถึง 4.12% YoY ในสัปดาห์ก่อนหน้ามาแล้ว นอกจากนี้ความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หนุนให้ภาคธุรกิจกลับมาเปิดทำการตามปกติได้มากขึน้ อย่างไรก็ดี จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้น อาจทำให้ Fed ตัดสินใจลดการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE taper) รวดเร็วกว่าคาด โดยนักวิเคราะห์คาดว่า Fed อาจส่งสัญญาณ QE taper เบื้องต้นในการประชุม Jackson Hole Symposium ทีม่ กั จัดขึน้ ในช่วงปลายเดือน ส.ค. ก่อนที่จะมีการประชุมของ FOMC ในวันที่ 21-22 ก.ย. และเริ่มลดการเข้าซื้อสินทรัพย์จริงต้นปี 2022

• การฉีดวัคซีนของทั่วโลกเริ่มมีความคืบหน้า โดยล่าสุดประเทศพัฒนาแล้วฝั่งตะวันตก เช่น สหรัฐฯ และยุโรปมีการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มให้กับประชาชนถึง 47.59% และ 27.74% ของจานวนประชากรทัง้ หมดตามลาดับ ขณะที่ประเทศภูมิภาคเอเชียไม่ว่าจะเป็นอินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปนุ่ และไทยฉีดไปแล้ว 10.53%, 7.34%, 4.14% และ 2.36% ตามลำดับ

• จำนวนผู้ว่างงานขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐฯ (Initial Jobless Claims) ลดลง 3.4 หมื่นราย เป็น 4.44 แสนราย ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 พ.ค. ซึง่ ลดลงมากกว่าตลาดคาด และเป็นการลดลงต่าสุดนับตัง้ แต่เกิดการระบาดรุนแรงของ COVID-19 ในกลางเดือน มี.ค. 2020 สะท้อนตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวขึ้น ต่อเนื่องตามการเปิดทาการตามปกติ โดยเฉพาะธุรกิจบริการ หลังการแจกจ่ายวัคซีนเป็นวงกว้างมากขึ้น

• ครม. มีมติ เห็นชอบให้กระทรวงการคลังออก พ.ร.ก. เงินกู้เพื่อฟื้นฟูและเยียวยาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ วงเงิน 700,000 ล้านบาท โดยแบ่งการจัดสรรเงินออกเป็น 1) แผนงานด้านสาธารณะสุข วงเงิน 30,000 ล้านบาท 2) แผนงานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ วงเงิน 400,000 ล้านบาท 3) แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมวงเงิน 270,000 ล้านบาท โดยคาดว่าแผนการกู้เพิ่มเติมอีก 700,000 ล้านบาท จะช่วยให้เศรษฐกิจปี 2021 ขยายตัวเพิ่มได้อกี 1.5% (โดยล่าสุดธปท.คาดการณ์ GDP ในปีนี้ไว้ที่ 2.0%) และจะไม่มีผลกระทบต่อหนี้สาธารณะในปีงบประมาณ FY2021 ซึ่ง คาดว่าจะอยู่ที่ 58% ของ GDP อย่างไรก็ดี สาหรับในปี FY2022 คาดว่าระดับหนี้สาธารณะจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 4.5% ของ GDP สู่ระดับ 63% ของ GDP ซึ่งเกินกรอบเป้าหมายที่ 60% ของ GDP

• ปรับคาแนะนำจาก “คงน้าหนักการลงทุน” เป็น “เพิ่มน้าหนักการลงทุนในทองคำ” เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในเดือนเม.ย. ปรับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และคาดว่าจะอยู่ในระดับสูงต่อไปตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (Real yield) ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ท่ามกลางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (Dollar index) ทีอ่อนค่าลงสู่ระดับ 89.8 จุด ต่ำสุดตั้งแต่เดือนม.ค. เป็นปัจจัยสนับสนุนราคาทองคำ

• ปรับคำแนะนำจาก “คงน้ำหนักการลงทุน” เป็น “เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจีน A-Share” เนื่องจากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องหลังผ่านพ้นวิกฤต COVID-19 โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ทั้งในและนอกประเทศที่ฟื้นตัว ประกอบกับตลาดหุ้นจีนรับรู้เรื่อง PBoC ส่งสัญญาณลดการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE taper) ไปแล้ว

กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดตราสารทุน

ตลาดหุ้นไทย : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
ตลาดหุ้นเกาหลี : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
ตลาดหุ้นจีน : ปรับคำแนะนำจาก “คงน้ำหนักการลงทุน” เป็น “เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจีน A-Shares” และ “คงน้ำหนักการลงทุนหุ้นจีน H-Shares”
ตลาดหุ้นยุโรป : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”

ตลาดตราสารหนี้
ตราสารหนี้ไทย : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
ตราสารหนี้ต่างประเทศ : ปรับคำแนะนำจาก “เพิ่มน้ำหนักการลงทุน” เป็น “คงน้ำหนักการลงทุนใน SCBUSHY” และ แนะนำลงทุนใน SCBFIN

สินทรัพย์ทางเลือก
ทองคำ : ปรับคำแนะนำจาก “คงน้ำหนักการลงทุน” เป็น “เพิ่มน้ำหนักการลงทุน”
น้ำมัน : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
อสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุนใน SCBPIN”