• ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นส่วนใหญ่กลับมาปรับตัวขึ้น หลังจากที่อาทิตย์ก่อนมีการปรับฐานราคาลงมา ซึ่งตลาดหุ้นในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมายังคงได้รับอานิสงส์มาจากการพัฒนาวัคซีนที่ก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก ทำให้หลายประเทศเริ่มทยอยฉีดวัคซีนโดสแรกให้กับประชาชนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ประเทศแถบภูมิภาคยุโรป รวมถึงประเทศในแถบเอเชีย เช่น อินเดีย และเกาหลีใต้ ขณะนี้บริษัทผลิตวัคซีนต้านไวรัส COVID-19 ที่ได้รับการรับรองให้ใช้วัคซีนส าหรับการรักษากรณีฉุกเฉินได้มีหลายบริษัทมากขึ้น อาทิ บริษัท Pfizer/BioNTech, 1482.98 Moderna, AstraZeneca, และ Gamaleya ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจและตลาดหุ้นทั่วโลก
• ดัชนี Composite PMI เดือน ม.ค. ของประเทศส่วนใหญ่อยู่ในแดนขยายตัว โดยดัชนีรวมสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นดีกว่าคาด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.7 จุด เป็นระดับ 58.7 จุด จากทั้งภาคการผลิตและบริการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่าดัชนีจีน Caixin ชะลอตัวลง -3.6 จุด เป็นระดับ 52.2 จุด แต่ยังอยู่ในแดนขยายตัว ขณะที่ดัชนียูโรโซนปรับตัวลดลง -1.3 จุด เป็น 47.8 จุด จากภาคบริการที่ยังได้รับผลกระทบจากมาตรการ Lockdown ที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5
• GDP ของยูโรโซนไตรมาส 4 ปี 2020 หดตัว โดยตัวเลขหดตัวอยู่ที่ระดับ -0.7% QoQ ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาด เนื่องจากปัญหาของการระบาดรอบใหม่ของ COVID-19 ที่รุนแรงอย่างมากและนำไปสู่การกลับมาใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวดอีกครั้ง นับตั้งแต่เดือน พ.ย. กดดันกิจกรรมภาคบริการ อาทิ ร้านอาหาร โรงแรม และการท่องเที่ยวอย่างมาก ขณะที่ภาคการผลิตและการส่งออกยังฟื้นตัวได้ดีต่อเนื่องเป็นปัจจัยที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจไม่ให้หดตัวรุนแรงไปกว่านี้ อย่างไรก็ดี GDP ยูโรโซนมีแนวโน้มหดตัวต่อในไตรมาส 1 ปี 2021 จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ยังรุนแรงและการแจกจ่ายวัคซีนที่ล่าช้า
• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ม.ค. ในไทยหดตัว โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เดือน ม.ค. ลดลงจาก 50.1 เป็น 47.8 จุด ซึ่งลดลงต่ำสุดในรอบ 9 เดือน เนื่อองจากความกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของ COVID-19 รอบใหม่ที่กระจายตัวเป็นวงกว้างและรวดเร็ว
• ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามคาด ซึ่ง BOT ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 0.50% โดยคณะกรรมการฯ ประเมินว่า แม้ว่าในระยะสั้นเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ เพื่อสนับสนุนการฟ้ืนตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง