โดย…..สาธิต บวรสันติสุทธิิ์,CFP
เห็นข่าวต่างๆไม่ว่า มาตรการช่วยคนจนเอย คลีนิคแก้หนี้เอย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาทางการเงินของคนไทยที่ส่วนใหญ่มักจบลงด้วยการเป็นหนี้ และต้องขายทรัพย์สินที่ตนเองมีอยู่ในราคาถูกเพื่อชำระหนี้ หลายคนบอกปัญหาการเงินที่เกิดขึ้นเนื่องจากการขาดโอกาสทางสังคม จากความจำเป็น ฯลฯ ซึ่งก็ถูกครับ จากประสบการณ์ที่ผมได้มีส่วนในการวางแผนการเงินและให้ความรู้ทางการเงินแก่คนระดับรากหญ้ามา พบว่าสาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งมาจากความจำเป็นจริงๆ คือ มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย แต่เชื่อมั๊ยครับ สาเหตุที่ทำให้คนส่วนใหญ่มีปัญหาทางการเงินกลับไม่ใช่ความจำเป็น แต่เป็นความไม่รู้หรือขาดทักษะทางการเงินมากกว่า
ทักษะทางการเงิน คือ อะไร ทักษะทางการเงิน (Financial Literacy) ตามนิยามขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development-OECD) คือ การตระหนัก ความรู้ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญความช านาญ ทัศนคติ และพฤติกรรม ในลักษณะที่มีผลให้บุคคลเกิดการตัดสินใจทางการเงินที่ดี และในที่สุดจะช่วยส่งผลให้บุคคลมีสุขภาพทางการเงินที่ดี
จากการสำรวจระดับทักษะทางการเงินของคนไทยทั่วประเทศ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2556 ซึ่งครอบคลุมการวัด 3 ด้านหลัก คือ ด้านความรู้ทางการเงิน ด้านพฤติกรรมทางการเงิน และด้านทัศนคติทางการเงิน ในแนวคำถามเหล่านี้
คำถามด้านพฤติกรรม
(1) ใครเป็นผู้รับผิดชอบและตัดสินใจเรื่องการใช้เงินในครัวเรือน
(2) ครัวเรือนของท่านมีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายหรือไม่
คำถามด้านทัศนคติ
(3) ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับประโยคเหล่านี้ เช่น
– ท่านมีความสุขในการใช้เงินมากกว่าเก็บออมเพื่ออนาคต
– ในการออมเงินหรือนำเงินไปลงทุน ท่านรับได้หากเงินต้นจะหายไปบางส่วนหรือได้ผลตอบแทน น้อยกว่าที่คาด
คำถามด้านความรู้ทางการเงิน
(4) สมมติว่าท่านมีพี่น้อง 5 คน (รวมตัวท่านเองด้วย) และท่านได้รับเงินมา 1,000 บาท ถ้าท่านต้องแบ่งเงิน นี้ให้ท่านและพี่น้องคนละเท่า ๆ กัน แต่ละคนจะได้รับเงินคนละเท่าไหร่
(5) สมมติว่าท่านฝากเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ 100 บาท โดยจะได้ดอกเบี้ย 2 % ต่อปี และในระหว่างปี ท่าน ไม่ได้ฝากเงินเพิ่มหรือถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวเลย เมื่อครบ 1 ปี ท่านจะมีเงินในบัญชีรวมดอกเบี้ยเป็นเท่าไหร่
(6) จากข้อ (5) เมื่อครบ 5 ปี ท่านจะมีเงินในบัญชีรวมดอกเบี้ยเป็นจำนวนเท่าไหร่ (โดยไม่มีการฝากเงินเพิ่ม หรือถอนเงินเลย)
พบว่า คนไทยมีคะแนนทักษะทางการเงินเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 58.5 ของคะแนนเต็ม 22 คะแนน ต่ากว่าคะแนนเฉลี่ยของ 14 ประเทศที่ร่วมโครงการสารวจของ OECD ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 62.3 โดยเฉพาะด้านความรู้ทางการเงิน คนไทยมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม และมีคนไทยมากกว่าร้อยละ 30 ที่มีคะแนนความรู้ทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ต่า ความรู้ทางการเงินที่คนไทยยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ เช่น การคำนวณดอกเบี้ยทบต้น และมูลค่าของเงินตามกาลเวลา การคำนวณดอกเบี้ยของสินเชื่อ การคำนวณเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย และด้านพฤติกรรมทางการเงินที่คนไทยส่วนหนึ่งยังปฏิบัติได้ไม่เหมาะสม คือ การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การเปรียบเทียบข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ และการไม่กู้ยืมหากรายรับไม่เพียงพอ ฯลฯ ขณะที่คะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมทางการเงินและทัศนคติทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี โดยสูงกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มของทั้งสองด้าน
ผลของการขาดทักษะทางการเงิน ก็คือ คนไทยจะไม่มีการวางแผนการเงิน ทำให้มีปัญหาทางการเงินอย่างเช่น เป็นหนี้ ไม่มีเงินพอใช้ยามเกษียณ ไม่มีเงินส่งลูกเรียนหนังสือ ฯลฯ และการไม่มีความรู้ ทำให้คนไทยมักตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงทางการเงิน อย่างเช่น แชร์ลูกโซ่ การลงทุนอัตราแลกเปลี่ยน ทองคำ ฯลฯ
และหากเราต้องการประเมินความรอบรู้ทางการเงินของตัวเราเอง ก็ทำได้นะ ไปที่เว็บของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ช่วยประเมินความรู้และทักษะทางการเงินของเราในด้านต่างๆ ได้แก่ วางแผนการเงินอย่างชาญฉลาด สิทธิและหน้าที่ คิดก่อนเป็นหนี้ รู้รอบระวังภัยที่ https://www.1213.or.th/th/tools/programs/Pages/finhealthcheck.aspx
เมื่อรู้ว่าทักษะการเงินของเราอยู่ระดับไหน อยากหาความรู้เพิ่มเติมก็ขอแนะนำ เข้าไปดูรายชื่อหน่วยงานที่ให้ความรู้ทางการเงินได้ที่ http://www.fpo.go.th/knowledgegap/agency.php ไม่จำเป็นต้องไปเข้าสัมมนาแพงๆ ครับ ไม่จำเป็น และหลายๆครั้งที่ผมเคยดู นอกจากแพงแล้ว ความรู้ที่ได้ไม่คุ้มเงินกับเวลาที่เสียไปเลยครับ