HoonSmart.com>> บลจ.วี มองอุตสาหกรรมเกมและ eSport เติบโตแรงจากเทคโนโลยี หนุนธุรกิจเกมขยายตัวทั้งส่วนผู้ประกอบการและผู้บริโภคเล่นเกมอย่างแพร่หลายทั่วโลก เปิดตัวกองทุนใหม่ “วี วีดิโอ เกมมิ่งแอนด์ อีสปอร์ต” หรือ WE-PLAY เสนอขายครั้งแรก 26 ต.ค.–3 พ.ย.63 สร้างโอกาสรับผลตอบแทนจากรายได้อุตสาหกรรมเกม แนะนำเป็นอีกจังหวะลงทุนใน ธีมเทคโนโลยีที่ยังเติบโตจากความต้องการของผู้บริโภคในภาวะตลาดผันผวน
นายอิศรา พุฒตาลศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วี จำกัด เปิดเผยว่า ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่พัฒนาสูงขึ้น ทำให้วิดิโอเกมเป็นอีก 1 ในอุตสาหกรรมบันเทิงที่เติบโตและสร้างรายได้อย่างมากจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เล่นเกมทุกเพศทุกวัย เนื่องจากเป็นกิจกรรมยามว่างที่สร้างความสนุกสนาน การมีอาชีพใหม่ๆที่เกิดในอุตสาหกรรมเกมและ eSport รวมถึง การเติบโตของ Hardware, Software และอินเตอร์เน็ต เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความต้องการของผู้บริโภคในตลาดวีดีโอเกมในระยะยาว
ทั้งนี้ คาดว่าจำนวนผู้เล่นวีดีโอเกมทั่วโลกจะสูงถึง 3 พันล้านคน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเล่นเกมที่มีความนิยมสามารถรวมกลุ่มถึงระดับการจัดการแข่งขัน หรือ Esport ซึ่งมีการเติบโตปีละประมาณ 28% ตั้งแต่ในปี 2015 และมีผู้ชมการแข่งขันวิดิโอเกมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีถึง 495 ล้านคนในปี 2020 ทำให้ตลาดเกมยิ่งเป็นที่รู้จักและส่งเสริมการเติบโตในเชิงโครงสร้างของกลุ่มดังกล่าวมากยิ่งขึ้น
ในด้านการเติบโตของรายได้บริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น การพัฒนาออกแบบเกม , อุปกรณ์การเล่นเกม รวมถึงบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันและถ่ายทอดผ่านระบบออนไลน์ มีการเติบโตต่อเนื่อง คาดว่าในปี 2020 จะมีรายได้ทั่วโลกสูงถึง 1.59 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคาดว่าจะเติบโตอย่างเนื่องจากการพัฒนาเกมที่มีรูปแบบ Game as a Service เพื่อสร้างรายได้จากเกม เช่น การออกแบบเกมให้ผู้เล่นมีการซื้อไอเทมหรือสินค้าอื่นๆ ภายในเกมด้วยเงินจริง (Microtransactions) ทำให้เกมมีการอัพเดตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
สำหรับธุรกิจการแข่งขัน eSport ในช่วงปีที่ผ่านมาได้รับความนิยมสูง เนื่องจากเงินรางวัลที่มีมูลค่ามาก ดึงดูดทั้งผู้เล่นและผู้ชมได้จำนวนมากในทุกช่วงหลากหลายอายุโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ขณะที่การขายบัตรเข้าชมการแข่งขันก็สร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรม eSport จำนวนมาก ประเมินว่า รายได้ 1.59 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯของอุตสาหกรรมวิดีโอเกมทั่วโลกในปี 2020 จะมีสัดส่วนจาก eSport ประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ในระยะถัดไป ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สนับสนุนเกมดีขึ้นและการเชื่อมต่อระหว่างผู้เล่นที่เร็วขึ้น ทำให้การพัฒนาเกมบนมือถือได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยได้รับแรงหนุนจากรูปแบบธุรกิจที่เล่นฟรีและความแพร่หลายของการใช้โทรศัพท์มือถือ อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของระบบสตรีมเมอร์ออนไลน์ ทำให้คนที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมกับเกมได้ง่ายขึ้น เช่น เกม Fortnite และ League of Legends โดยรายได้จากเกมมือถือจะยังคงเติบโตในระดับสูง จากที่มีอัตราการเติบโตประมาณ 22% ต่อปี (CAGR)
บลจ.วี เปิดเสนอขาย IPO กองทุนเปิด วี วีดิโอ เกมมิ่งแอนด์ อีสปอร์ต (WE VIDEO Gaming and eSports Fund : WE-PLAY) ระหว่างวันที่ 26 ต.ค – 3 พ.ย. 2563 ลงทุนผ่านกองทุนหลัก VanEck Vectors® Video Gaming and eSports ETF ที่มีนโยบายเน้นลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับวิดิโอเกม และ eSports เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนจากการเติบโตของหุ้นกลุ่มธุรกิจดังกล่าว โดยเน้นบริษัทขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูง ซึ่งเป็นส่วนประกอบของดัชนี MVIS Global Video Gaming and eSports Index (MVESPOTR) ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมวิดีโอเกมและ/หรือ eSport ที่มีรายได้จากธุรกิจดังกล่าวอย่างน้อย 50% ขนาดของบริษัทมีมูลค่าตลาดเกิน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีสภาพคล่องสูง โดยต้องมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในช่วง 3 เดือนมากกว่า 1 ล้านเหรียญฯ และต้องมีปริมาณการซื้อขายขั้นต่ำ 250,000 หุ้นต่อเดือน ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
สำหรับตัวอย่างบริษัทที่กองทุนลงทุนเช่น 1.) บริษัท NVIDA CORP ผู้ผลิตหน่วยประมวลผลเพื่อเพิ่มความเร็วให้กับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมี NVIDIA GeForce® เป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุด 2.) บริษัท Advanced Micro Devices, Inc. (AMD) เป็นผู้ผลิตหน่วยประมวลผล (semiconductor) และอุปกรณ์ด้าน hardware ต่างๆ บริษัทยังได้เป็นผู้ผลิต microprocessors, chipsets, graphics, video and multimedia products 3.) บริษัท Tencent Holdings Ltd ผู้จำหน่ายวิดีโอเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งลงทุนในบริการต่างๆ รวมถึง เกมมือถือ, บริการอินเทอร์เน็ต, ระบบการชำระเงิน, สมาร์ทโฟนและเกมออนไลน์ 4.) บริษัท Nintendo มีการผลิตและพัฒนาอุตสาหกรรมวิดีโอเกมฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ รวมถึงผลิตเกมคอลโซลที่เติบโตมากที่สุดในอุตสาหกรรมเกม เช่น the Game Boy, the Super Nintendo Entertainment System, the Nintendo DS, the Wii, and the Nintendo Switch 5.) บริษัท Activision Blizzard ผู้พัฒนา เผยแพร่ซอฟแวร์สื่อบันเทิง รวมถึงสื่อเกมที่หลากหลายให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค 6.) บริษัท Electronic Arts Inc. ผู้พัฒนา, เผยแพร่ รวมถึงเป็นผู้จำหน่ายซอฟแวร์เกมมิ่งทั่วโลกสำหรับวิดิโอเกมคอลโซลและคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ด้วยกลยุทธ์การกระจายลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ ไม่เน้นลงทุนในบริษัทใดมากจนเกินไป ทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก VanEck Vectors® Video Gaming and eSports ETF สร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 30 ก.ย. 2563 ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือนที่อยู่ที่ -0.72% ย้อนหลัง 3 เดือน 18.43% ย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี 61.46% ย้อนหลัง 1 ปี 82.25% และผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุน 42.24% ต่อปี *
“ปัจจุบันการเล่นวิดีโอเกมในทุกช่วงอายุ ซึ่งถือเป็นความบันเทิงรูปแบบหนึ่งที่เติบโตสอดรับกับนวัตกรรมของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ทำให้การเล่นเกม เปลี่ยนไปสู่การเป็นการแข่งขันที่มีผู้สนใจเข้าร่วมและมีผู้ชมเพิ่มขึ้นสูงมาก บลจ.วี อยากแนะนำกองทุน WE-PLAY เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนาเกมที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถือกองทุนในธีมเทคโนโลยี อีกกองทุนที่ บลจ.วี อยากนำในปีนี้ ซึ่งสอดรับกับจังหวะที่ภาวะตลาดมีความผันผวนและปรับตัวลงมา” นายอิศรา กล่าว
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมพร้อมรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บลจ.วี โทรศัพท์ 02-648-1555 หรือตัวแทนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของ บลจ.วี ได้แก่ บล.เคทีบี (ประเทศไทย), บล.หยวนต้า , บล.โนมูระ, บล.เคจีไอ, บล.เอเชียเวลท์, บล.ฟิลลิป, บล.กรุงศรี, บล.เอสบีไอ ไทย ออนไลน์, บลน.โรโบเวลธ์, บลน.ฟินโนมินา และ บลน. เวลท์ รีพับบลิค และ บลน.เว็ลธ์เมจิก