SCBAM : ลุ้นตลาดหุ้นโลกวิ่งต่อ ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจ

๐ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังสามารถปรับตัวโดดเด่นขึ้นต่อเนื่อง โดยสัปดาห์ที่ผ่านมาน่าสนใจตรงที่การปรับตัวขึ้นเริ่มกระจายหลากหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น ไม่ได้ขึ้นกระจุกเพียงเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่เหมือนช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนหน้า หลังสหรัฐฯ สามารถผ่านร่างกฎหมายเพิ่มเพดานหนี้สำร็จ คลายความกังวลว่าปัจจัยดังกล่าวจะเป็นตัวเร่งให้เกิดเศรษฐกิจถดถอยของนักลงทุน ขณะที่เริ่มเห็นยอดเงินฝากไหลเข้ากลุ่มธนาคารพาณิชย์อีกครั้งช่วยลดความวิตกต่อวิกฤติสภาพคล่องและตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังดูแข็งแกร่งแต่ชะลอตัวลงมา สอดคล้องกับมุมมองของเราต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ว่ายังอยู่ในช่วงปลายวัฏจักร ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังปรับตัวขึ้นโดดเด่นต่อเนื่องและตลาดหุ้นจีนที่เริ่มเห็นการฟื้นตัวขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์เช่นกันหลังจากปรับตัวลงมาแรงเกินไปในช่วงก่อนหน้า

๐ ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญทั่วโลกสัปดาห์นี้ เช่น สหรัฐฯ: ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อกาคบริการ (SM Non-Manufacturing) เดือนพ.ค. และตัวเลขการขอสวัสดิการว่างานครั้งแรกรายสัปดาห์ยุโรป: ตัวเลขยอดค้าปลีกเดือน เม.ย. และตัวเลข GDP 1023 เบื้องต้นของยูโรโซน จีน: ตัวเลขนำเข้า-ส่งออกเดือนพ.ค. ตัวเลขเงินเอผู้ผลิตและผู้บริโภคเดือนพ.ค. และตัวเลขการขอกู้ใหม่ (New Loans, Outstanding Loan Growth, Total Social Financing) หากตัวเลขออกมาดีกว่าคาดหรือตามคาดน่าจะช่วยหนุน sentiment บวกต่อการฟื้นตัวตลาดหุ้นในสัปดาห์นี้

หุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

สหรัฐอเมริกา : มุมมองเชิงบวก แนะนําซื้อ / เพิ่มนํ้าหนัก
ปัจจัยกดดันตลาดหุ้นผ่อนคลายลง หลังมีการลงนามขยายเพดานหนี้ ช่วยลดความกังวลเศรษฐกิจถดถอย สอดคล้องกับ ตัวเลขภาคแรงงานล่าสุดที่ยังคงแข็งแกร่ง สะท้อนเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มที่ดี รวมทั้งนักลงทุนกลับมาปรับความคาดหวังว่า Fed จะคงดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มิ.ย. จึงมองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะยังคงได้ sentiment เชิงบวกจากเรื่องดังกล่าว

ยุโรป : มุมมองเชิงบวก แนะนําซื้อ / เพิ่มนํ้าหนัก
ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนพ.ค. ของยูโรอยู่ที่ /4.8 ออกมาดีกว่าคาด แต่ปรับตัวลงจากเดือนก่อนหน้า และยังอยู่ในโซนหดตัว ขณะที่งินเฟ้อ CPI ยูโรโซน เดือน พ.ค. อยู่ที่ 6.1 % 10Y ซลอลงจำกต่อนก่อนหน้า และต่ำกว่าตลาดคาด ช่วยหนุนความคาดหวังว่า ECB อาจพิจารณาลดการดำนินนโยบายการงินตึงตัวในอนาคต เป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นยุโรป

ญี่ปุ่น : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยได้แรงหนุนจากเงินเยนที่อ่อนค่า รวมทั้งรายงานเงินเฟ้อ CPI ของกรุงโตเกียว เดือนพ.ค. ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนภาพงินเฟ้อทั่วประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลงเช่นกัน เป็นส่วนช่วยลดแรงกดดันต่อ B0J ในการดำเนินนโยบายตึงตัวมากขึ้น ทั้งนี้ระมัดระวังดัชนีอาจมีความเสี่ยงปรับฐานระยะสั้น หลังจากดัชนี
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นมาค่อนข้วงแรงและเร็ว

หุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

ไทย : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
SET Index ยังคงได้รับปัจจัยกดดันจากนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ์ในตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งตัวเลขการนำเข้า-ส่งออกเดือนเม.ย. ที่ออกมาต่ำกว่าตลาดคาด ส่งผลให้ดุลการค้ากลับมาขาดดุล ภดดันค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มระยะสั้นมองว่าตลาดอาจฟื้นตัวขึ้นได้บ้าง แต่อาจป็นปอย่างจำกัดเพื่อรอความชัดเจนของปัจจัยทางการเมือง

จีน : มุมมองเชิงบวก แนะนําซื้อ / เพิ่มนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงต่อระหว่างสัปดาห์ก่อนที่จะฟื้นตัวแรงในช่วงท้ายสัปดาห์ หลังตลาดหุ้นจีนปรับลงแรง sold ทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามา ทั้งนี้ตัวเลขเศรษฐกิจที่ทยอยออกมาสร้างความผิดหวังต่อนักลงทุนกดตลาดหุ้นระยะสั้น อย่างไรก็ตามเรายังคงเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวในระยะข้างหน้าและเป็นโอกาสทยอยสะสม

อินเดีย : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
อินเดียปรับตัวลงเล็กน้อย ถึงแม้แนวน้มกำไรบริษัทจดทะเมียนคาดเติบโตสูงแต่จากระดับมูลค่า (Valuation) ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับตัวเองและภูมิภาค และความเสี่ยงที่กระเสงินทุนต่างชาติอาจไหลออกไปเข้าตลาดหุ้นได้ หากเศรษฐกิจจีนเริ่มกลับมาฟื้นตัวแข็งแกร่งขึ้นอีกครั้ง ดังนั้นเราจึงมีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นอินเดีย

เกาหลีใต้ : มุมมองเชิงบวก แนะนําซื้อ / เพิ่มนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้กลับมาปรับตัวขึ้นโดดเด่นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตาม sentiment บวกจากหุ้นกลุ่มเทคในโลยีและกลุ่ม Semiconductor สหรัฐฯ โดยภาพทางเทคนิคดูมีไมเมนตัมเชิงบวกและอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น เราจึงแนะนำเก็งกำไรลุ้นการปรับตัวขึ้นได้ต่อในระยะสั้น

เวียดนาม : มุมมองเชิงบวก แนะนําซื้อ / เพิ่มนํ้าหนัก
กาครัฐทยอยออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือกาคอสังหาริมทรัพย์และกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทั้งนโยบายการเงินและการคลัง ถือเป็นสัญญาณชิงบกต่อการฟื้นตัวของตลาดหุ้นในระยะข้างหน้า แต่งบของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ที่ยังดูชะลอตัวและนักลงทุนรายย่อยที่ยังไม่ได้กลับลงทุนคึกคักจำกัดการฟื้นตัวในระยะสั้น ทยอยสะสมเมื่อตลาดหุ้นย่อตัว

ตราสารหนี้

ในประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
กนง. มีมติขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps จาก 1.75% เป็น 2.00% ต่อปี โดยคณะกรรมการมองว่าเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในปัจจุบัน โดยกล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อยังถือว่ามีความเสี่ยงด้านสูง ทั้งนี้ EIC คาดว่ากนง. จะปรับขึ้นดอกบี้ยต่ออีก 2 ครั้งสู่ระดับ Terminal rate ที่ 2.5% ซึ่งอาจส่งผลกดคันต่อราคาตราสารหนี้

ต่างประเทศ : มุมมองเชิงบวก แนะนําซื้อ / เพิ่มนํ้าหนัก
Bond Yield สหรัฐฯ ปรับตัวลงเล็กน้อยโดยอายุ 2 ปีและอายุ 10 ปีอยู่ที่ 4.51 % และ 3.70% ตามลำดับ หลังตลาดเริ่มปรับความคาดหวังว่า Fed อาจไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มิ.ย. นี้เพื่อรอประเมินผลกระทบผลของการขึ้นดอกเบี้ยก่อน ทั้งนี้เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนกลุ่มตราสารหนี้โลกจากระดับดอกเบี้ยที่น่าสนใจ

สินทรัพย์ทางเลือก

ทองคำ : มุมมองเชิงบวก แนะนําซื้อ / เพิ่มนํ้าหนัก
ราคาทองคำปรับตัวฟื้นขึ้นมาได้เล็กน้อยในสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังต่ำกว่าระดับ US$2,000/0z ทั้งนี้เราคาดหวังโอกาสฟื้นตัวระยะสั้นจากดัชนี Dollar Index ที่มีโอกาสอ่อนค่าลง ถ้าหาก Fed ไม่ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนนี้ตามที่ตลาดคาด

น้ำมัน : มุมมองเชิงบวก แนะนําซื้อ / เพิ่มนํ้าหนัก
ราคาน้ำมันดิบ พTเ ปรับตัวฟื้นขึ้นกลับมายืนเหนือระดับ $70/0bI อีกครั้งในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผลการประชุม OPEC+ ซาอุฯ อาสาลดกำลังการผลิตเพิ่มอีก 1 ล้านบาร์เรล/วัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีดขึ้นต่อในวันจันทร์ที่ผ่านมาทั้งนี้เรายังมองแนวโน้มราคา WTI แกว่งตัวในกรอบกว้าง ซื้อเก็งกำไรแถว $65-75/bbl, ขายทำกำไรแถว $80-85/bbl

อสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
แนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐฯ ใกล้ถึงจุดสูงสุดช่วยลดแรงกดดันในกลุ่ม REITร สิงคโปร์ ทั้งนี้ติดตามการประชุม Fed เดือนมิ.ย. หากออก Dot plot ใหม่ข้มงวดกว่าตลาดคาดอาจส่งผลต่อราคา REITs สิงคโปร่ในระยะสั้น ขณะที่ REIT ไทยต้องพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรมจากการฟื้นตัวอาจไม่เท่ากันและนักลงทุนยังไม่ได้หันกลับมาลงทุนมากนัก