กลุ่ม Tech สหรัฐฯ ยังโดดเด่น…เจรจาเพดานหนี้คืบหน้า

MARKET INSIGHT
ประจำวันที่ 29 พ.ค. -2 มิ.ย.66
โดย…บลจ.ไทยพาณิชย์ (SCBAM)

Highlight ประจำสัปดาห์

๐ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวโดดเด่นอีกครั้ง หนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หุ้น Nvidia ทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ หลังประกาศงบออกมาดีกว่าคาดและให้ Guidance เติบโตโดดเด่นท่ามกลางเศรษฐกิโลกซะลอตัว หนุนหุ้นกลุ่ม Semiconductor ปรับตัวขึ้น บดบังปัจจัยลบจากรายงานการประชุม Fed ที่ค่อนข้างเห็บต่างกันในเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินและตัวเลขงินเฟ้อ (PCE) สหรัฐฯ ที่ออกมาสูงกว่าคาด ด้านการเจรจาเรื่องเพดานหนี้สหรัฐฯ มีพัฒนาการเชิงบวก ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวว่า สามารถตกลงในหลักการได้แล้ว ส่วนตลาดหุ้นจีนยังคงปรับตัวลงแรงต่อจากความผิดหวังต่อแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศษฐกิจและความกัลต่อสถานการณ์โควิดที่จำนวนผู้ดเชื้อเร่งตัวสูงขึ้น

๐ รายงานการประชุม Fed บ่งชี้มุมมองของเหล่าคณะกรรมการที่แตกต่างกันในการดำเนินนโยบายการเงิน แต่สิ่งที่คณะกรรมการมองตรงกันคือการพิจารณาจากชุดข้อมูลในระยะข้างหน้าเป็นสำคัญ (Data Dependent) ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสหรัฐฯ (Core PCE) ออกมาสูงกว่าคาด (+4.7% Vs +4.6% YoY) อาจทำให้ Fed กลับมาดำนินนโยบายการเงินเข้บงวดกว่าที่ตลาดคาดในระยะถัดไป

๐ Nvidia รายงานกำไรดีกว่าคาด พร้อมให้ Guidance สำหรับยอดขายในตรมาสถัดไป สูงกว่า 50% จากที่ตลาดเคยคาดไว้ ($11 billion vs $7.15 bilion) จากความต้องการชิป GPU ใน Data center และการนำไปใช้พัฒนา Generative A! เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง รายงานตังกล่าวหนุนหุ้นทำจุดสูงสุดใหม่และกลุ่ม Semiconductor ปรับตัวขึ้นโดดเด่นเช่นกัน

หุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

สหรัฐอเมริกา : ( มุมมองเป็นกลาง แนะนำคงน้ำหนัก )
ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรัมตัวขึ้น หนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี AI ที่พุ่งขึ้นแรงและการเจรจาขยายเพดานหนี้ไกล้บรรลุข้อตกลง ทั้งนี้ รายงานเงินฟ้อ Core PCE เดือน แม.ย. +4.7% YOV เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและสูงกว่าตลาดคาด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ Fed ปริขั้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มี.ย. เป็นปัจจัยกคดันตลาดหุ้น และอาจมีแรงขายทำกำไรเข้ามา

ยุโรป : ( มุมมองเป็นกลาง แนะนำคงน้ำหนัก )
เยอรมันรายงาน GDP งวด 1066 หดตัว 0.3%QoQ นับเป็นการหดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน ทำให้เข้าสู่ภาวะถดถอยเชิงเทคนิค นอกจากนั้น งินเฟิอ CP! ของอังกฤษล่าสุดสูงกว่าตสาดคาด สอดคล้องกับดัชนี economic surpise ที่เริ่มติดลบ สะท้อนเศรษฐก็จของยุโรปมีแนวโน้มอ่อนแอลง อาจเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นในระยะถัดไป

ญี่ปุ่น : ( มุมมองเป็นกลาง แนะนำคงน้ำหนัก )
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยได้แรงหนุนจากเงินเยนที่อ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ส่งผลให้หุ้นกลุ่มส่งออกปรับตัวขึ้นได้ดี รวมทั้งมูลค่าการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียน แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2565 ทั้งนี้ระมัดระวังดัชมีอาจมีความเสี่ยงปรับฐานระยะสั้น หลังจากดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างแรงและเร็ว

หุ้นกลุ่มประเทศดลาดเกิดใหม่

ไทย : ( มุมมองเป็นกลาง แนะนำคงน้ำหนัก )
SET Index พื้นตัวขึ้นบ้าง จากความคีบหน้ของปัจจัยการเมือง หลังจากพรรคแกนนำและพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ลงนาม MOU แต่การพื้นตัวของราคาหุ้นเป็นไปอย่างจำกัด เมื่อบรรยากาศการลงทุนผ้าสู่ไหมด Wait & See รอความชัดเจนสะท้อนจากว่อสุมการซื้อเายที่เบานางลง และนักลงทุนต่างชาติยังคงมีสถานะขายสุทธิหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง

จีน : ( มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนำทยอยสะสม )
ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลง จากความกังวลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ช้ากว่าคาด และการระบาดของโควิดที่เร่งตัวสูงขึ้น รวมทั้งความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนถูกเกขายลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เรายังคงเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐก็จ และกำไรบริษัทจดทะเบียนในระยะข้างหน้า แนะนำทยอยสะสม

อินเดีย : ( มุมมองเป็นกลาง แนะนำคงน้ำหนัก )
ตลาดหุ้นอินเดียปรับตัวขึ้นได้ดี โดยได้แรงหนุนจากนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้สุทธิอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เต็นโตเงแกร่ง อย่างไรก็ตามระดับมูลค่า (Valuation) ของตลาดหุ้นอินเดียค่อนข้างแเพงเมื่อเทียบกับตัวเองและภูมิภาค เราจึงยังคงมุมมองเป็นกลาง

เกาหลีใต้ : ( มุมมองเป็นกลาง แนะนำคงน้ำหนัก )
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปรับตัวขึ้น ตาม sentiment บวกจากหุ้นกลุ่มเทคนโลยีและกลุ่ม Semiconductor สหรัฐฯ ทั้งนี้เรายังระมัดระวังต่อหุ้นกลุ่ม Semi ระยะสั้นที่ปริบตัวขึ้นมาได้ค่อนข้างแรง และต้องเฝ้าติดตามว่า Earnings และ Inventory ของกลุ่ม Semiconductor จะถึงจุดต่ำสุดในไตรมาสสองหรือไม่

เวียดนาม : ( มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนำทยอยสะสม )
ธนาคารกลางเวียดนามปรับลดดอกเยลง 50bp ตามเงินเฟิอที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่งผลให้ภาครัฐยังสามารถออกมาตรการกระตุ้นศรษฐกิจเพิ่มเต็มได้ ถือเป็นสัญญาณชิงนวกต่อการฟื้นตัวของตลาดหุ้นในระยะข้างหน้า แต่การรายงานงบของบริษัทจดทะเบียนใน 1 Q66 ที่ชะลอตัว 16% YoY จำกัดการฟื้นตัวในระยะสั้น แนะนำทยอยละสมเมื่อตลาดหุ้นย่อตัว

ตราสารหนี้

ในประเทศ : ( มุมมองเป็นกลาง แนะนำคงน้ำหนัก )
สัปดาห์นี้ติดตามการประชุม กนง. ในวันที่ 31 .ค. ตลาดคาคว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 25bps เป็น 2.00% อย่างไรกีดี SCB EIC ประเมินว่า กนง. มีโอกาสทยอยปรับพื้นดอกเบี้ยสู่ Terminal Rate ที่ 2.5% ในช่วงไตรมาส 3 เผื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จรึง (Real rate) กลับมาเป็นบวก

ต่างประเทศ : ( มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนำทยอยสะสม )
Bond Yield สหรัฐฯ เดินหน้าปรับขึ้นต่อเนื่อง แตะระดับ 4.57% สำหรับอายุ 2 ปี และ 3.81%6 สำหรับอายุ 10 ปี ความคาดหวังของตลาดต่อการหยุดขึ้นดอกเบี้ย (Pause) ในการประชุม Fed เดือน มี.ย. ริ่มลดลง หลังจากงินเฟิอ Core PCE เดือน เม.ย. +4.7% YoY สูงกว่าคาดที่ +4.6% YoY

สินทรัพย์ทางเลือก

ทองคำ : ( มุมมองเป็นกลาง แนะนำคงน้ำหนัก )
ทองคำอยู่ในช่วงของการพักตัว ด้วยแรงดันของการเข็งค่าของ US Dollar Index ประกอบกับความกังวลในระยะสั้นต่อกาวะเศรษฐกัจถดถอย เนื่องจาก GDP 1066 ของสหรัฐฯ รายงานรอบสองดีขึ้นกว่ารอบแรก (1.3% VS 1.1%) และคาดการณ์ GDP Growth 2Q66 จ7ก GDPNow ยังคงเป็นบวก

น้ำมัน : ( มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนำทยอยสะสม )
ปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำมัน คือ สต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ สดลงมากถึง 12.5 ล้านบาร์เรล, สหรัฐฯ จะซื้อน้ำมันดิบราว 3 ล้านบาร์เรลในเดือน ส.ค. เพื่อเต็มคลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ (SPR) ที่ลดระดับลงมาค่อนข้างมาก ทั้งนี้ คาดว่า ราคาน้ำมันอาจมีความฝันผวนมากขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ ก่อนเข้าสู่การประชุมกลุ่ม OPEC+ วันที่ 4 มิ.ย.

อสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน : ( มุมมองค่อนข้างเป็นลบ แนะนำทยอยลดน้ำหนัก )
การปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องของ Bond Yield ประกอมกับ มุมมองของตลาดที่ให้น้ำหนักมากขึ้นกับการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในการประชุมเดือน มี.ย. (จากเดิมที่คาดว่า จะคงดอกเบี้ย) เป็นแรงกดดันต่อราคากลุ่ม REITs ช่วงนี้ โดยเฉพาะ REITs สิงคโป ซึ่งค่อนข้างอ่อนไหวต่อกิศทาง Bond Yield และดอกเบี้ยสหรัฐฯ